วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การทำไข่เค็มไชยา



                                          สูตรไข่เค็มไชยา


วัสดุที่ใช้ ประกอบด้วย


35 89 1
1.ไข่เป็ดสด
2. ดินจอมปลวกบดละเอียด 3 ส่วน
3.เกลือป่น 1 ส่วน
4. น้ำต้มสุกพอประมาณ
5. ขี้เถ้าแกลบ

วิธีทำ

1. การเตรียมไข่เป็ด 

ในการผลิตไข่เค็ม ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จะมีการเตรียมไข่เป็ด โดยมีการใช้ไข่เป็ด จากผู้เลี้ยงเป็ดเจ้าประจำที่ ซื้อขายกันมานาน ซึ่งผู้เลี้ยงเป็ดจะมีการคัด ขนาดของไข่เป็ด ก่อนนำมาส่งให้ โดยที่นิยมใช้คือ ขนาดใหญ่และขนาดกลาง ใช้ประสบการณ์ และความชำนาญ ในการคัดเลือก ในกรณีที่ไข่เป็ดสกปรกมาก ก็จะล้างทำความสะอาดก่อน แล้วพอกด้วยดินที่เตรียม ไว้ทันที ซึ่งจากการลงพื้นที่ พบว่ามีการนำไข่เป็ด จากทางภาคกลาง เข้ามาใช้ด้วย เนื่องจากมีราคาถูก และไข่ในพื้นที่ไม่พอเพียง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ที่ไข่เค็มขายดีมาก

5


2. การเตรียมดินสำหรับพอก
 

ดินที่ใช้สำหรับ พอกไข่เค็มไชยา สามารถเตรียมได้ โดยตวงดินและ เกลือในสัดส่วนตามสูตร เติมน้ำต้มสุกพอประมาณ มีการแช่พักไว้ 1 คืน จึงค่อยผสมคลุกเคล้า ให้เข้ากัน แต่ผู้ผลิตไข่เค็มบางแห่ง ก็มีการผสมโดยไม่ต้อง แช่ค้างคืน ส่วนผสมมีความเข้มข้น พอเหมาะไม่เหลว หรือเข้มข้นเกินไป จากการลงพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่ ใช้มือในการผสมดิน มีเพียงแห่งเดียวที่ใช้ เครื่องผสมดิน ซึ่งออกแบบขึ้นเอง เนื่องจากมีการผลิต จำนวนมาก มีโรงงานผลิตไข่เค็ม ขนาดใหญ่ระดับแนวหน้า มีลูกจ้างช่วยหลายคน และมีรถขนส่งขนาดใหญ่


7
3. การพอกไข่เค็มและคลุกด้วยขี้เถ้าแกลบ 

นำดินที่ผสมเตรียมไว้แล้ว ใส่กะละมังขนาดใหญ่ จากนั้นเอาไข่ที่เตรียมไว้ คลุกลงไปในกะละมัง อาจใส่ลงไปได้ทีละหลายใบ คลุกให้ทั่วทั้งฟอง แล้วนำเอามาคลุกด้วย ขี้เถ้าแกลบทันที ผู้ทำไข่เค็มปริมาณน้อย จะมีขั้นตอนประณีต มากกว่าผู้ที่ผลิต จำนวนมาก การคลุกขี้เถ้าแกลบ มีประโยชน์เพื่อป้องกัน ไม่ให้ไข่ที่พอกดินติดกัน และช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ ผู้ผลิตไข่เค็มที่ผลิตจำนวนมาก หลังจากพอกไข่เค็ม เสร็จจะนำมาวาง เรียงทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ และคลุกด้วยขี้เถ้าแกลบ
43
4. การบรรจุไข่เค็มในบรรจุภัณฑ์ 

นำไข่เค็มที่คลุกขี้เถ้าแกลบแล้ว บรรจุในถุงพลาสติกหูหิ้ว ผู้ผลิตบางรายมีการใส่ขี้เถ้าแกลบ ปูรองพื้นในถุงพลาสติก ทั้งด้านบน และด้านล่างด้วย เพื่อป้องกันการกระแทก ผูกถุงพลาสติกนำไป บรรจุในกล่องลูกฟูก สีน้ำตาลขนาด 17x17 เซนติเมตร (กล่องใหญ่) มีฉลากบอกถึงผู้ผลิต และมีรายละเอียด วัน เดือน ปี ในการนำไปบริโภค ฉลากของบางราย มีเครื่องหมาย อย. แล้วด้วยการบรรจุไข่เค็มบรรจุกล่องละ 7 ฟอง 8 ฟอง และ 10 ฟอง ในราคากล่องละ 35 บาท กล่องขนาดใหญ่บรรจุ 17 ฟอง 18 ฟอง และบรรจุ 20 ฟอง ราคากล่องละ 70-80 บาท การบรรจุไข่จำนวนต่างกัน เนื่องจากไข่มีขนาดต่างกัน ใบใหญ่บรรจุน้อยลงตามลำดับ มีเพียงร้านเดียวคือ ของแม่กิ้มที่มีการบรรจุมากถึง 40 ฟอง ขายในราคา 160 บาท ในกล่องกระดาษลูกฟูก จากขั้นตอนดังกล่าว สามารถสรุปเป็นกระบวนการ ดังนี้



8






แหล่งอ้างอิง 

http://student.srp2.org/3/32/project1/01/parent.html







0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น