วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพะเยา


ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพะเยา






               พะเยา เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนานไม่น้อยไปกว่าเมืองอื่นๆ ในอาณาจักรล้านนา บริเวณที่ตั้งของจังหวัดพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรษที่ 16 โดยมีผู้ปกครองคือ พ่อขุนงำเมือง ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพะเยาอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงราย ในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทยอาณาเขตจังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร ตอนเหนือมีพื้นที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจังหวัดน่าน ส่วนทางตะวันตกติดกับจังหวัดลำปาง และทางด้านใต้ติดกับจังหวัดแพร่หน่วยการปกครองการปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 68 ตำบล790หมู่บ้าน 2เทศบาลเมือง22เทศบาลตำบลอำเภอเมืองพะเยาอำเภอจุนอำเภอเชียงคำอำเภอเชียงม่วนอำเภอดอกคำใต้อำเภอปงอำเภอแม่ใจอำเภอภูซางอำเภอภูกามยาวผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรข้าวหอมมะลิข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาจัดอยู่ในสินค้าระดับ Premium Grade เพราะจะมีเพียงฤดูนาปีเท่านั้น จังหวัดพะเยามีดินดีที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกคือดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟและเป็นดินจากภูเขาไฟที่ดิบสนิทแล้วทำให้ข้าวมีรวงแข็งแรง เมล็ดสมบูรณ์ใหญ่ยาว เมื่อสีข้าวแล้วจจะได้ข้าวเมล็ดเรียวยาว ขาวเป็นมัน เมื่อหุงสุกแล้วจะเหนียวนุ่มกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้าย ๆ กับกลิ่นใบเตย แม้ทิ้งไว้นานก็ยังคงสภาพ กลิ่นหอม หุงแล้วนุ่มลำไยลำไยส่วนใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดพะเยา คือ พันธุ์อีดอ ลักษณะผลใหญ่รูปทรงแป้นเบี้ยว เนื้อหวานสีขาวขุ่นค่อนข้างเหนียว รสหวาน มีปริมาณน้ำตาลประมาณ 18.7% ผลจะแก่เร็วกว่าผลพันธุ์อื่น ต้นเดือนกรกฎาคมก็เก็บผลผลิตได้ นิยมปลูกในทุกอำเภอแหล่งที่ปลูกมากคืออำเภอเชียงคำ อำเภอจุน ผลผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือกลิ้นจี่เนื่องจากสวนลิ้นจี่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยาปลูกอยู่ระหว่างหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีและปลูกในดินที่มีปริมาณธาตุโปแตสเซียมสูงส่งผลให้ลิ้นจี่ของจังหวัดพะเยามีลักษณะเด่น คือ ลูกใหญ่ สีผิวสวย ตามชนิดพันธุ์รสชาติหวาน เนื้อแห้งกรอบ ไม่มีน้ำมากเมื่อแกะรับประทานสด สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ



แหล่งอ้างอิง   http: // www.google.com

                   หนังสือต่างๆที่เกี่ยวข้อง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น